ภาษีป้ายโฆษณาคืออะไร? ใครเป็นคนจ่าย?

หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ว่าการขึ้นป้ายโฆษณานั้นจะต้องมีการเสียภาษีป้ายให้กับภาครัฐตามกฎหมายกำหนด โดยภาษีป้าย ณ ที่นี้ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายโฆษณาสินค้าต่างๆ แล้วที่นี้เราจะได้รู้ได้อย่างไรว่าป้ายโฆษณาที่เรามีอยู่ หรือ กำลังจะมีนั้นจะต้องเสียภาษีตามที่กฏหมายกำหนดหรือไม่? มาดูกันครับ

ป้ายที่ต้องเสียภาษี
ได้แก่ ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

นี่คือข้อนิยามของป้ายที่จะต้องเสียภาษีป้ายโฆษณาตามกฎหมายครับ โดยภาษีป้ายโฆษณานั้นจะแตกต่างกันไปตามภาษาและตัวอักษรที่ใช้ในป้ายโฆษณาของเรานั้นเอง ตามกฎหมาย ภาษีป้ายโฆษณามีทั้งหมด 3 ประเภท
(1) ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนให้คิดอัตรา 10 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
(2) ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและหรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่นให้คิดอัตรา 100 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
(3) ป้ายดังต่อไปนี้ ให้คิดอัตรา 200 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
(ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่
(ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

โดยทั่วไปภาษีป้ายส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในประเภทสองเพราะว่าลูกค้าจะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่จะมีเพิ่มเติมจากการใช้ภาษาอื่นล้วนนอกจากภาษาไทยในป้ายโฆษณาของตนเอง หรือ บริษัทป้ายโฆษณาจะแจ้งกับลูกค้าก่อนทำการตกลงขึ้นป้าย ให้ลูกค้ารู้ถึงส่วนต่างระหว่างภาษีป้ายประเภท 2 และ 3 ซึ่งค่อนข้างแพงกว่ากันพอสมควรเลยทีเดียว ดังนั้นลูกค้าควรคำนึงถึงภาษีป้ายให้ดีก่อนการออกแบบภาพกราฟฟิกหรือข้อความโฆษณาของตนเอ

โดยทั่วไปแล้วบริษัทป้ายโฆษณาหรือผู้ให้เช่าป้ายโฆษณาจะเป็นผู้รับผิดชอบภาษีป้าย แต่อย่างไรก็ตามจะต้องมีการทำข้อตกลงกับลูกค้าก่อนขึ้นป้ายเสมอความทางบริษัทจะรับผิดชอบภาษีป้ายโฆษณาประเภทไหนบ้าง เช่น ทางบริษัทจะรับผิดชอบภาษีป้ายโฆษณาประเภท 1 และ 2 แต่เพียงผู้เดียว แต่หากเป็นภาษีป้ายโฆษณาประเภท 3 ทางบริษัทจะรับผิดชอบ 50% และลูกค้ารับผิดชอบ 50% หรือ ลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบภาษีป้ายโฆษณาประเภท 3 100% เป็นต้น

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีป้าย

  • ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความภาพหรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายได้เสียภาษีป้ายแล้วอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตราตาม 1 , 2 หรือ 3 แล้วแต่กรณีและให้เสียเฉพาเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น
  • เศษของ 500 ตารางเซนติเมตร ถ้าเกินครึ่งให้นับเป็น 500 ตารางเซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าปัดทิ้ง
  • ป้ายใดเมื่อคำนวณแล้ว จำนวนเงินต่ำกว่า 200 บาท ให้เสีย 200 บาท
  • ภาษีป้ายจะต้องเสียเป็นรายงวด โดยจะเริ่มนับตั้งแต่เดือน มีนาคม ของทุกปี
  • ภาษีป้ายสามารถทำเรื่องผ่อนชำระได้

ป้ายโฆษณาดีอย่างไร?

การโฆษณาถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำการตลาดเพื่อที่จะบอกกล่าวให้กลุ่มเป้าหมาย หรือ กลุ่มลูกค้า ของเรานั้นรับรู้ถึงสินค้า, บริการ, และตำแหน่งของเรา และยังคงสื่อคุณค่าและความหน้าเชื่อถือให้แก่กลุ่มลูกค้าเราอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การกระตุ้นความต้องการที่จะบริโภคสินค้าและบริการของเรานั้นเอง โดยเจ้าของกิจการจะว่าจ้างบริษัทรับทำโฆษณา เพื่อทำการโฆษณาสินค้าและบริการในสื่อต่างๆ เช่น ป้ายโฆษณากลางแจ้งตามถนนสายหลัก ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยประหยัดงบประมาณได้และสามารถสร้างความรับรู้หรือตระหนักถึงแบรนด์สินค้าได้อีกทางหนึ่ง ป้ายโฆษณา เป็นสื่อที่มีความสำคัญมากในวงการประชาสัมพันธ์และโฆษณา เพราะป้ายโฆษณาสามารถเผยแพร่ได้สะดวกและกว้างขวาง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกพื้นที่สามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ทุกเพศทุกวัย ทุกระดับการศึกษา มีความยืดหยุ่นในการออกแบบ สามารถออกแบบกราฟิกได้อย่างอิสระเพื่อโน้มน้าวความรู้สึกได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการโฆษณาบนสื่อดิจิตอลต่างๆ เช่น โซเชียลมีเดีย และ เว็ปต่างๆ กำลังเป็นที่สนใจของใครหลายๆคน แต่อย่างไรก็ตามป้ายโฆษณาก็ยังคงเป็นสื่อสำคัญมาก เพราะป้ายโฆษณานั้นสามารถสร้างความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ดีกว่า ละยังการันตีว่ากลุ่มลูกค้าของเราในจุดต่างๆนั้นจะได้รับข้อมูลละการโฆษณาสินค้าและบริการที่เราต้องการจะสื่อสารได้อย่างแน่น และด้วยผลวิจัยจาก (Lancaster, Kreshel and Harris 1986) ได้พบว่าเมื่อผู้บริโภคได้เห็นโฆษณาเดิมๆซ้ำๆกันมากกว่า 3 ครั้งนั้น จะทำให้โฆษณานั้นๆมีผลกระทบต่อความต้องการซื้อของผู้บริโภคละนำไปสู่การซื้อหรือการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าละบริการนั้นๆ

 

ข้อดีของป้ายโฆษณา

ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง และสามารถเลือกตั้งเฉพาะพื้นที่ได้

– มีความถี่ในการมองเห็นบ่อย เพราะจุดติดตั้งส่วนใหญ่เป็นเส้นทาง หรือบริเวณที่ต้องเดินผ่านไปมาเสมอ

– สามารถดึงดูดความสนใจได้ดี

– ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาในการนำเสนอข้อมูล

– ข้อความที่กะทัดรัด ทำให้เกิดความสนใจและเป็นจุดเด่นที่ทำให้เกิดความจดจำ

 

ข้อเสียของป้ายโฆษณา

– การนำเสนอข้อมูลมีข้อจำกัดสูง ทำให้ขาดรายละเอียดเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อชนิดอื่นๆ เช่น โซเชียลมีเดีย

– การผลิตจำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อนสูง เสียค่าใช้จ่ายมาก

– เป็นการไม่รักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี

 

Reference: http://www.billboardconstructor.com/advertising

ทำไมบริษัทใหญ่ๆต้องป้ายโฆษณา ?

การทำโฆษณาในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายรูปแบบมากมาย มีทั้งประเภทที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ประเภทใช้เงินลงทุนน้อย และบางประเภทแทบไม่ต้องใช้เงินลงทุนเลยแม้แต่น้อย เนื่องจากช่องทางการประชาสัมพันธ์สิ่งค้าไปถึงกลุ่มเป้าหมายนั้น มีมากมายหลากหลายช่องทางนั้นเอง อาทิเช่น การโฆษณาทางอินเตอร์เน็ต ทางสื่อสังคมออนไลน์เช่น facebook instragram twiiter การโฆษณาทางทีวี วิทยุต่างๆ โดยป้ายโฆษณาก็เป็นสื่อโฆษณาอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันมีความสำคัญเป็นอย่างมาก นั่นก็เพราะว่าป้ายเป็นอีกปัจจจัยหนึ่ง ที่สามารถกำหนดความเป็นอยู่เป็นไปของธุรกิจของท่านได้ ป้ายโฆษณาเป็นการโชว์ภาพลักษณ์ของสินค้าท่าน ถ้าท่านทำสื่อด้านนี้ออกมาตรงใจลูกค้า นั่นก็ย่อมหมายถึงผลพลอยได้จากยอดขายจะมากมายมหาศาล แต่ถ้าท่านให้ความสนใจน้อยหรือแทบไม่มีความสนใจที่จะให้ความสำคัญกับป้ายโฆษณาของท่าน นั่นก็หมายถึงว่าสินค้าของท่านอาจจะมียอดขายที่ตกต่ำอย่างคาดไม่ถึง นักธุรกิจ หรือเจ้าของร้านค้าหลายท่านอาจคาดไม่ถึงว่า การทำสื่อโฆษณาแบบป้ายนี้ จะสามารถสร้างยอดขายให้แก่สินค้าของท่านมากน้อยเพียงใด หากท่านได้ลองสอบถามพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือธุรกิจที่ใหญ่โต เงินลงทุนมากมายมหาศาล อย่างห้างสรรถสินค้า หรือตัวแทนจำหน่ายสินค้าประเภทเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ต่างๆ หรือแม้กระทั่ง เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างโครงการบ้านจัดสรรค์ต่างๆ ท่านอาจจะรู้ได้ว่าการทำป้ายโฆษณาโปรโมตสินค้านั้น สามารถสร้างยอดขายให้แก่สินค้าของพวกเขามหาศาลแค่ไหน ซึ่งป้ายโฆษณาที่บรรดาเจ้าของสินค้าต่างๆนิยมใช้ ที่เราเห็นทั่วไป อาทิเช่น ป้ายบิลบอร์ดตามถนน ป้ายคัทเอาท์ข้างทาง ป้ายไวนิลขนาดใหญ่ตามอาคารต่างๆ โดยเฉพาะบรรดาห้างสรรพสินค้าต่างๆ จะมีงบประชาสัมพันธ์ประเภทนี้แต่ละปีค่อนข้างสูงแต่ก็สร้างผลกำไรให้ลูกค้าได้มากเช่นเดียวกัน

 

Reference: http://www.at-ads.com/article/sign_article.html