INKJET คืออะไร

การพิมพ์ INKJET คือการพิมพ์ด้วยหลักการพ่นหมึกลงบนวัสดุต่างๆ เหมือนกับเครื่อง inkjet printer ที่ใช้กันทั่วไปตามบ้านละสำนักงาน แต่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่และคุณภาพดีกว่ามาก ไม่ว่าจะพ่นหมึกตรงจุดใดก็ตาม เครื่องก็จะสามารถทำการพ่นหมึกลงไปตามวัสดุที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ ด้วยการประมวลผลของตัวเครื่องที่แทบจะไม่มีความผิดพลาด ให้สีที่มีความคมชัดและตัวอักษรที่ชัดเจน ซึ่งอย่างไรก็ตามความละเอียดของงานนั้นก็ขึ้นอยู่กับเครื่องพิมพ์นั้นๆด้วย โดยปัจจุบันเครื่องพิมพ์ INKJET โดยทั่วไปนั้นความละเอียดอยู่ที่ 720 dpi ถึง 1440 dpi (DPI ในที่นี้นั้นหมายถึง “Dots per inch” หรือจำนวนของเม็ดสีต่อนิ้ว ถ้ายิ่งสูงงานก็จะยิ่งละเอียดตามมาไปด้วย และแน่นอนว่าราคาก็จะสูงตามไปด้วยเหมือนกัน)โดยการงานพิมพ์ INKJET จะสามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น งานภายใน (INDOOR) หรือ งานภายนอก (OUTDOOR) ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า จึงทำให้ INKJET เหมาะสมแก่การใช้กับงานสื่อสิ่งพิมพ์เป็นอย่างมาก โดยจะได้งานที่ออกมามีคุณภาพยอดเยี่ยม ให้ความละเอียดสูงเหมาะกับการใช้งานในหลายรูปแบบตอบทุกโจทย์ความต้องการ และให้การลงทุนที่ต่ำแต่ได้งานที่น่าพึงพอใจ ละที่สำคัญงาน INKJET นั้นเป็นสื่อโฆษณาที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี

ประเภทของงานพิมพ์ INKJET

งานพิมพ์ INKJET นั้นจะสามารถแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อสำคัญๆตามลักษณ์ของงาน
1. งานพิมพ์อิงค์เจ็ท ภายใน (Inkjet Indoor)
2. งานพิมพ์อิงค์เจ็ท ภายนอก (Inkjet Outdoor)
3. งานพิมพ์อิงค์เจ็ท หมึกยูวี (Inkjet UV)
4. งานพิมพ์อิงค์เจ็ท บนผ้า (Digital textile)

1. งานพิมพ์อิงค์เจ็ท ภายใน (INKJET INDOOR)

ใช้สําหรับงานภายในอาคาร มองระยะใกล้ ประมาณ 30-100 cm. จึงต้องใช้งานพิมพ์ที่มีความละเอียดสูง มีความคมชัด สีสวยสดใส แต่ก็มีข้อจํากัดเหมือนกัน งานพิมพ์ภายในนั้นจะมีความทนทานน้อยจึงจําเป็นต้องทําการเคลือบฟิล์มป้องกันชิ้นงานด้านหน้าเพื่อป้องกันริ้วลอยต่างๆและน้ำ ซึ่งตัวฟิลม์นี้มีให้เลือกทั้ง ชนิดด้าน (Matte) เเละ ชนิดเงา (Gloss)

2. งานพิมพ์อิงค์เจ็ท ภายนอก (INKJET OUTDOOR)

ใช้สําหรับงานโฆษณาภายนอกอาคาร เป็นงานโฆษณาระยะไกล มีความละเอียดน้อยกว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทแบบภายในอาคาร แต่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมกลางแจ้งสูงไม่ว่าจะเป็นแดดและฝน เช่นป้ายโฆษณาขนาดต่างๆที่เราเห็นได้ตามท้องถนน อายุการใช้งานของงานพิมพ์ประเภทอิงค์เจ็ทภายนอกอาคารนี้ จะมีอายุการใช้งาน ประมาณ 0.5 – 2 ปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุและหมึกพิมพ์ที่เลือกใช้

ปัจจุบันเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท outdoor บางยี่ห้อมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านหัวพิมพ์ที่มีความละเอียดใกล้เคียงกับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท indoor จึงทําให้สามารถใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ไม่จําเป็นต้องเคลือบฟิล์มป้องกันด้านหน้าหรือหากต้องการเคลือบก็สามารถทําได้

3. งานพิมพ์อิงค์เจ็ท หมึกยูวี (INKJET UV)

งานพิมพ์อิงค์เจ็ท ยูวี เป็นเป็นเทคโนโลยี่น้องใหม่ในวงการเมื่อเทียบกับการพิพม์แบบเดิมๆ UV เป็นการใช้เครื่องพิมพ์ inkjet ด้วยหมึก UV ที่สามารถแห้งละพร้อมใช้งานได้เลยเมื่อหัวพิมพ์ได้ทำการพ่นสีลงไปบนวัสดุแล้วซึ่งต่างจากการพิพิมพ์งานแบบอื่นๆที่ต้องใช้เวลาซักระยะเพื่อให้สีได้เซ็ทตัว งานพิมพ์ INKJET UV นั้นใช้ได้งานโฆษณาทั้งภายในและภายนอกอาคาร และด้วยเทคโนโลยี่ใหม่ๆที่มีการพัฒนาอยู่เลื่อยๆให้อายุการใช้งานของงานพิมพ์ประเภทอิงค์เจ็ทยูวีนี้ จะมีอายุการใช้งานได้ถึง ประมาณ 1.5 – 3 ปี ขึ้นอยู่กับสถานที่ติดตั้งและคุณภาพของวัสดุ ถึงงานพิมพ์อิงค์เจ็ท ยูวี นั้นจะเพียบพร้อมในทุกด้านแบบนี้ แต่ก็ยังมีข้อเสียอยู่ด้วยเหมือนกัน

ข้อดี

  • สามารถพิมพ์ลงตรงบนพื้นผิวทุกวัสดุ แม้กระทั้งแผ่นหนังแท้หรือเทียม และสามารถพิมพ์ลงเป็นวัสดุแบบแผ่นได้เลยหรือแบบม้วนก็ได้ขึ้นอยู่กับรุ่นของเครื่องพิมพ์
  • สีของหมึกพิมพ์ UV นั้นติดทนนานไม่ซีดเร็วเมื่อเทียบกับหมึก inkjet ทั่วไป แม้จะเจอกับสภาพอากาศและแสงแดดที่โหดร้ายในบ้านเรา
  • สามารถใช้ทนแทนงานพิมพ์ INKJET ทั้ง INDOOR และ OUTDOOR ได้ เพราะมีความละเอียดสูงได้ถึง 1440 dpi และคงยังทดแดดทนฝน
  • ไม่มีกลิ่นสีมารบกวน หากนำมาใช้ในงาน INDOOR
  • และยังมีลูกเล่นต่างอีกมากมายที่เครื่องพิมพ์ INKJET แบบหมึกทั่วไปมาสามารถทำได้ ทำให้งานพิมพ์ UV นั้นโดดเด่นในสายตาลูกค้าแน่นอน

ข้อเสีย

  • มีราคาการผลิตสูงกว่าการพิมพ์ด้วยหมึก INKJET ทั่วไป
  • งานที่พิมพ์ด้วยหมึก UV นั้นจะออกด้านๆ (Matt) นิดดึง ดังนั้นหากลูกค้าต้องการงานที่มีความมันเงา จึงอาจจะต้องมีการเคลือฟิล์มเงา (Gloss) ด้วย

4. งานพิมพ์ผ้า (Digital textile)

งานพิมพ์ผ้า ใช้ส่าหรับงานโฆษณาภายในและภายนอกอาคารหรืองานตกแต่งต่างๆ มีความละเอียดน้อยกว่า เครื่องพิมพ์อิ้งค์เจ็ท อินดอร์ อายุการใช้งานของงานพิมพ์ผ้าจะมีอายุการใช้งานขึ้นอยู่กับคุณภาพของแต่ละชนิด ปัจจุบันงานพิมพ์ผ้ากําลังเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศ
วัสดุผ้าที่นำมาใช้พิมพ์นั้นมีหลายหลาย ต้องเป็นสำหรับพิมพ์อิ้งเจ็ทเท่านั้น ตัววัสดุจะมีการโค้ทหน้าเพื่อให้สีเกาะและทนความร้อน

Reference: http://www.d-conceit.com/inkjet-printing-system/

สเปคของไวนิลที่ควรรู้

ไวนิลแต่ละยี่ห้อนั้นจะมีสเปคของไวนิลแต่ละประเภท เราต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน การเลือกใช้ไวนิลเหมาะสมกับการใช้งานนั้นจะทำให้เราใช้ประโยชน์ได้เต็มที่และได้คุณภาพที่ดีสุดกับความต้องการของเรา การดูสเปคของไวนิลนั้นสามารถแบ่งออกเป็นข้อๆได้ดังนี้

Weight คือน้ำหนักต่อตารางเมตร จะมีหน่วยเป็นกรัม ตัวอย่างเช่น 360g (gram) คือ ไวนิลมีน้ำหนัก 360 กรัมต่อตารางเมตร

Thickness คือความหนาของไวนิลเช่น 0.3, 0.35 +- 0.02 mm. หมายถึงไวนิลมีความหนา 0.3 mm. หรือ ไวนิลมีความหนา 0.35 mm. +- ไม่เกิน 0.02 mm. เป็นต้น

Surface คือประเภทของผิวหน้าไวนิล เช่น Matte หรือ Glossy แต่งานส่วนใหญ่นั้นจะเป็น Glossy

Width คือหน้ากว้างของไวนิล จะเริ่มตั้งแต่ 0.92, 1.22, 1.32, 1.52, 1.82, 2.22, 2.52, 2.82, 3.20 เมตร.

Length คือความยาวของไวนิล โดยปกติไวนิล 1 ม้วน จะมีมาตรฐานความยาวอยู่ที่ 50 เมตร

 

ตัวอย่างจากการใช้งานจริง

จากประสบการณ์การในการทำงานตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปี เราอยากแนะนำการเลือกใช้สเปคของไวนิลให้ลูกค้าดังนี้

ป้ายไวนิล ขนาดเล็ก ขนาดไม่เกิน 3×3 m. เราจะเลือกใช้ไวนิลที่มีความหนาอยู่ที่ 310g ก็เพียงพอต่อการใช้งาน สามารถร้อยท่อแล้วขึงกับโครงสร้างหน้างานได้สบายๆ อาจจะเพิ่มเป็น 360g แล้วแต่สภาพหน้างานว่าติดสูงหรือกินลมมากแค่ไหน

ป้ายไวนิล ขนาดใหญ่ ขนาดตั้งแต่ 3 m. ขึ้นไป เราจะเลือกใช้ไวนิลที่มีความหนาตั้งแต่ 360g ขึ้นไป จะต้องมีการต่องานเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ลูกค้าต้องการเพราะหน้ากว้างใหญ่ที่สุดของไวนิลนั้นจะอยู่ที่ 3.20 เมตร จึงจำเป็นต้องมีการต่อหลายๆชิ้นเข้าด้วยกัน ซึ่งหากหน้างานนั้นต้องเจอกับสภาพอากาศที่มีแรงลมตลอดเวลา ความหนา 400g – 440g จึงเป็นทางเลือกที่ควรใช้ นอกจากนี้ความหนาและเส้นด้ายที่เหมาะสมยังช่วยให้ป้ายใช้งานได้ยาวขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตามป้ายขนาดใหญ่การติดตั้งที่หน้างานจะมีความแตกต่างกัน เราจึงจำเป็นเลือกสเปคให้เหมาะสมกับการใช้งานนั้นๆด้วย

ประเภทของ ไวนิล (Vinyl) ที่ใช้กับงาน Inkjet

ป้ายไวนิลที่ใช้กับงาน inkjet และงานพิมพ์ส่วนใหญ่นั้น แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไวนิลทึบแสง และ ไวนิลโปร่งแสง

 

ไวนิลทึบแสง คือ ไวนิลที่มีการเคลือบที่ด้านหลังเมื่อพิมพ์งานไปแล้วส่องไฟจะมองไม่ทะลุ ทำงานให้มีสีสดออกมาได้ตามแบบ (artwork) ซึ่งสามมรถแบ่งตามการใช้งานได้ 2 แบบหลักๆ คือ

  • แบบหลังขาว เป็นไวนิลที่เหมาะกับงานพิมพ์ Inkjet และพิมพ์ UV ทั่วไป และเป็นประเภทที่เป็นมาตราฐานและนิยมที่สุดในการพิมพ์งาน
  • แบบหลังดำ มีคุณสมบัติที่เหมาะในการใช้งานที่ต้องการกันแสงส่อง หรือ ต้องเจอแสงเยอะๆ

เพราะไวนิลแบบหลังขาวนั้นสามมรถให้แสงผ่านได้จึงทำให้สีของงานนั้นมีการเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเจอกับแสง

ไวนิลโปร่งแสง (backlit) คือ ไวนิลที่มีการเคลือบที่ด้านหลังบางกว่าแบบทึบแสง ซึ่งแสงสามารถส่องทะลุได้ แบ่งเป็น 2 ประเภทฝ

  • แบบโปร่งแสง เป็นไวนิลที่สามารถให้แสงผ่านได้ จึงนิยมใช้สำหรับงานกล่องไฟ ที่เราเห็นตามป้ายด้านนอกของร้านค้าและตามห้างต่างๆ โดยใช้ Backlit และส่องไฟจากด้านหลังเพื่อให้งานออกมาสวยสด ดังนั้นจึงต้องใช้การพิมพ์ที่ให้หมึกหนาแน่นกว่าเป็นพิเศษ เพื่อเวลาส่องไฟแล้วสีไม่เพี้ยน
  • แบบตาข่าย เป็นไวนิลที่มีรูตาข่าย สามารถลดแรงปะทะของลมได้ดีกว่าแบบโปร่งแสงทั่วไป สามารถใช้ขึงตามอาคารสูงได้หรือกล่องไฟที่อยู่บนอาคารสูง จะมีระยะห่างของตาข่ายแตกต่างกันไปสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม

ไวนิล คืออะไร

ไวนิล อาจจะเป็นคำติดหูของใครหลายๆคนไม่ว่าจะเป็นงาน inkjet หรือ งานอื่นๆอีกมากมาย แต่บางคนก็อาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าความจริงแล้วว่าไวนิลคืออะไรและทำมาจากอะไร ไวนิล คือ โพลีเมอร์สังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่ได้มาจากการผสมระหว่าง PVC (Polyvinyl Chloride) และสารเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆ เช่น สารเพิ่มความทนทานต่อสภาวะอากาศ, สารเพิ่มความทนทานต่อความร้อน, สารเพิ่มความแข็งแรงและยืดหยุ่น, และสารประกอบอื่นๆ เพื่อที่จะสร้างส่วนผสมพิเศษที่สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายประเภทตามความต้องการของลูกค้า ไวนิลยังเป็นวัสดุที่ไม่มีปัญหาเรื่องการเกิดสนิม การรั่วซึมของน้ำฝน การผุกร่อนหรือบิดงอ และก็ไม่ติดไฟอีกด้วย จึงนิยมนำมาใช้ผลิตอุปกรณ์ใช้งานกลางแจ้งและที่สำคัญไวนิลมีความแข็งแรงและทดทานแสงแดดและสภาพอาศในเมืองไทยเป็นอย่างดี

 

(ที่มา : http://www.nstda.or.th)